สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความเครียด 2) ศึกษาระดับความเครียด 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อ
ความเครียดกับความเครียด และ 4) เพื่อพยากรณ์ความเครียดของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การ
ศึกษามัธยมศึกษา ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน จำนวน 289 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ผลการ
วิจัยพบว่า ปัจจัยความเครียดโดยรวมอยู่ในระดับมาก ระดับความเครียดโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยความเครียดของผู้บริหารสถานศึกษามีความ
สัมพันธ์เชิงลบกับความเครียดของผู้บริหารสถานศึกษาโดยรวมในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยตัวแปรพยากรณ์ความเครียด
ของผู้บริหารสถานศึกษา คือ ปัจจัยด้านองค์การ ปัจจัยด้านส่วนตัวบุคคล ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน ปัจจัยด้านงานและบทบาทหน้าที่
และปัจจัยด้านการสนับสนุนทางสังคม ตามลำดับ สามารถพยากรณ์ความเครียดของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
คำสำคัญ : ความเครียด, ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเครียด, ความเครียดของผู้บริหารสถานศึกษา
ABSTRACT
The purposes of this research were 1) to study the factors affecting the stress 2) to study stress level 3) to study the correlation
between the stress factors and stress and 4) to analyze multiple regression of affecting the stress. The sample group consisted of 289
school administrators under the Office of Secondary Educational Service Area in the upper northeastern region. The research instrument
was a 5 rating-scale questionnaire. The results were as follows: Overall, the factors affecting the stress was at a high level. the stress was
at the middle level. the factors affecting the stress of school administrators had negative relation with the stress of school administrators in
overall at a middle level with a statistical significance at the .01 level. The predictors are organization factor, personal factor,
working environment factor, jobs and roles factor, and social support factor.
Keyword : stress, factors affecting the stress, the stress of school administrator
_______________________________________________________________________________________________
นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
* Corresponding Author. E-Mail: witthaya@pcp.ac.th